2396 ทรงพระราชสมภพ

2396    พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร (พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทปัจจุบัน) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี 

more info

2408 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ (รัชกาลที่5)

2408   พระราชโอรสพระองค์ใหญ่มีพระชนมายุได้เต็ม ๑๒ ปี ปี พ.ศ.2408 ทรงเข้าพระราชพิธีโสกันต์หรือพิธีโกนจุก ของพระราชโอรส หรือพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง

more info

2409 ทรงพระผนวชสามเณร

2409   ร.5 ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อพระชันษา 14 พรรษา ปีขาล ทำพิธีพระราชสมโภช ณ พระที่นั่งอนันตสมาคาม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

more info

2411 รัชกาลที่4 สวรรคต หลังเสด็จกลับจากหว้ากอ


2411  วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตภายหลังเสด็จออกทอดพระเนตรสุริยุปราคา ณ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

more info

2411 เสด็จขึ้นครองราชย์ ครั้งที่1 ต่อจากพระราชบิดา

2411  ขณะมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา ดังนั้น จึงได้แต่งตั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าพระองค์จะมีพระชนมพรรษครบ 20 พรรษา 

more info

2414 - 2415 : เสด็จประพาสต่างประเทศ สิงคโปร์ ชวา พม่า อินเดีย

ในปี พ.ศ. 2414 ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนประเทศเพื่อนบ้านเป็นครั้งแรก ทรงเลือกที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง คือประเทศสิงคโปร์ และประเทศชวา และ 2415 ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนประเทศอินเดีย โดยพระราชดำเนินผ่าน สิงคโปร์ และพม่า

more info

2417 : ประกาศพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศ "พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย" เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 แก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่

more info

2416 รัชกาลที่ 5 เสด็จขึ้นครองราชย์ ครั้งที่2

2416   เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 20 พรรษาแล้ว เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2416 จึงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลา 15 วัน หลังจากทรงลาสิกขาแล้ว ได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

more info

2417 การปฏิรูปการปกครอง ครั้งที่ 1 เกิดวิกฤตการณ์วังหน้า

2417  การปรบปรุงการปกครองประเทศในตอนต้นรัชกาล ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หรือเรียกว่า “เคาน์ซิล ออฟ สเตท” (Council of State) และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ หรือเรียกว่า “ปรีวี เคาน์ซิล” (Privy Council) สภาทั้งสองนี้มีหน้าที่ในการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย รวมทั้งยกเลิกประเพณีโบราณต่างๆ ที่เห็นว่าไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมในสมัยนั้น ปรากฏว่าสภาทั้ง 2 ดำเนินงานไปได้ไม่นาน ก็ต้องหยุดชะงักเพราะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่เรียกว่า“วิกฤตการณ์วังหน้า” (เป็นความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งดำรงตำแหน่งวังหน้า อันเนื่องมาจากความหวาดระแวงซึ่งกันและกันจนเกือบจะมีการประทะกันระหว่างกัน) ขึ้นในปลาย พ.ศ.2417 แต่ก็สามารถยุติลงได้ ก่อนจะมีปารประกาศเลิกทาสในเวลาต่อมา

more info

2425 : ทรงจัดตั้งโรงเรียนทหารมหาดเล็ก

ทรงจัดตั้งโรงเรียนทหารมหาดเล็ก ตั้งอยู่ที่พระตำหนักสวนกุหลาบในพระบรมมหาราชวัง จึงเรียกว่า โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ

more info

2430 ปฏิรูปการปกครอง ครั้งที่2 เกิดการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก

2430  การปฏิรูปการปกครองในช่วงหลัง รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงภยันตรายจากการแสวงหาอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจตะวันตก และทรงเห็นว่าลักษณะการปกครองของไทยใช้มาแต่เดิมล้าสมัยไม่สอดคล้องกับความเจริญก้าวของบ้านเมือง ดังนั้นใน พ.ศ.2430 ทรงเริ่มการปฏิรูปการปกครองแผนใหม่ตามแบบตะวันตก โดยเฉพาะในส่วนกลางมีการจัดแบ่งหน่วยงานการปกครองออกเป็น 12 กรม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปใช้คำว่า “กระทรวง” แทนโดยประกาศสถาปนากรมหรือกระทรวงต่างๆ ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2435 และยังได้ประกาศตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่างๆ ขึ้น ยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ทุกตำแหน่ง มีสิทธิเท่าเทียมกันในที่ประชุม ต่อจากนั้นได้ยุบกระทรวงและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเสียใหม่เหลือไว้เพียง 10 กระทรวง 

more info

2436 : วิกฤตการณ์ รศ. ๑๑๒

ในวันที่ 13 กรกฏาคม ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เรือรบฝรั่งเศสก็ได้ชัยชนะ...รุกผ่านเข้าปากแม่น้ำเจ้าพระยาและไปเทียบท่าอยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสในกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ  และได้หันปืนใหญ่น้อยบนเรือทั้งหมดเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง โดยฝรั่งเศสได้ยื่นคำขาดแก่รัฐบาลไทย

more info

2440 : ประพาสยุโรปครั้งที่ 1


ประพาสยุโรปครั้งที่ 1 พระราชดำเนินไปยังประเทศอิตาลี  รัสเซีย  สวีเดน  เดนมาร์ก  อังกฤษ  เยอรมนี  ฝรั่งเศส

more info

2445 : จัดตั้งกรมธนบัตร

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้ตรา พระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโรสินทรศก 121 ขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2445

more info

2447 : ก่อตั้งธนาคารไทยเป็นแห่งแรก

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร่วมกับคณะบุคคล ก่อตั้งธนาคารไทยเป็นแห่งแรก เรียกว่า บุคคลัภย์

more info

2450 : เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2

รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ ออกจากกรุงเทพฯ ในวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ ถึงเมืองเนเปิลส์ ประเทศอิตาลีในวันที่ ๒๕ เมษายน เมื่อเสด็จฯ ถึงเมืองซันเรโมในวันที่ ๒๘ เมษายน โปรดให้คณะแพทย์ที่ทรงนัดไว้ถวายการตรวจพระวรกายเกือบจะทันทีในวันที่ ๒๙ และ ๓๐ เมษายน

more info

2453 : เสด็จสวรรคต

ในบั้นปลายพระชนชีพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพลานามัยไม่สมบูรณ์นักหลังจากเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 แล้ว พระอาการก็ค่อยทรุดลงเป็นลำดับ และเสด็จสวรรคตด้วยพระโรคพระวักกะพิการเมื่อเวลา 2 ยาม 45 นาที วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453

more info

ลำดับเวลา