select DISTINCT i.id, i.* from items i where i.is_deleted = 0 and i.item_type = 'prints_sub' and i.parent_id = 5963 order by CONVERT (i.title USING tis620) asc limit 0,100
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา "เอกซฮิบิเชน" ของสยาม ตั้งแต่ "นาเชนแนลเอกซฮิบิเชน" เมื่อ พ.ศ. 2425 ถึง "สยามรัฐพิพิธภัณฑ์" เมื่อ พ.ศ. 2468 ที่ได้รับอิทธิพลจากมหกรรมนานาชาติ กับทั้งยังทำให้ เห็นภาพสะท้อนประวัติศาสตร์สยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผลจากการศึกษาทำให้เห็นความสำคัญและพัฒนาการของ "เอกซฮิบิเชน" ดังนี้ ประการที่ 1 การจัด "เอกซฮิบิเชน" ของสยามในต่างประเทศเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของสยามในฐานะ อารยประเทศและการรักษาทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศ ประการที่ 2 ชนชั้นนำสยามนำแนวคิดเรื่อง "เอกซฮิบิเชน" มาปรับใช้ให้เห็นว่าสยามมีความก้าวหน้าและทันสมัย จึงเกิดกระบวนการจัดแสดง "เอกซฮิบิเชน" ตามแบบอย่างตะวันตกขึ้นในสยามอย่างสม่ำเสมอ จนเกิดการถ่ายทอดแนวคิดเรื่องการจัด "เอกซฮิบิเชน" จากชนชั้นนำไปสู่ข้าราชการและราษฎร ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ประการที่ 3 การจัด "เอกซฮิบิเชน" ในสยามดำเนินการไปพร้อมกับการสั่งงานในระบบราชการสมัยใหม่ ซึ่งมีระบบจัดการที่ ชัดเจน ทำให้ข้าราชการ ได้พัฒนาตนเองจากการลงมือปฏิบัติ เมื่อต้องจัด "เอกซฮิบิเชน" เพื่อให้ราษฎรได้ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประการที่ 4 การจัด "เอกซฮิบิเชน" ในกรุงเทพฯ สะท้อนให้เห็นการเจริญเติบโต ของกรุงเทพฯ เป็นเมืองสมัยใหม่แบบตะวันตก ซึ่งเห็นได้จากการสร้างถนน สะพานและรถราง เพื่ออำนวย ความสะดวกในการเดินทาง ตลอดจนประเภทและจำนวนธุรกิจสมัยใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น
Subject | มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468 -- นิทรรศการ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453 -- นิทรรศการ สยามรัฐพิพิธภัณฑ์ ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2394-2475 อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
|
วันที่พิมพ์ | 2549 |
ชื่อผู้แต่ง | กัณฐิกา ศรีอุดม |
โรงพิมพ์ | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
more info