select DISTINCT i.id, i.* from items i where i.is_deleted = 0 and i.item_type = 'prints_sub' and i.parent_id = 5411 order by CONVERT (i.title USING tis620) asc limit 0,100
กำลังคนมีค่ามากสำหรับสังคมในอดีต เพราะปัญหาขาดแคลนกำลังคนเกิดขึ้นทั่วไป การควบคุมกำลังคนจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างเสถียรภาพของแต่ละอาณาจักร อาณาจักรต่าง ๆ ของไทย นับแต่ลานนา สุโขทัย อยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์ต่างก็มีระบบไพร่เป็นเครื่องมือในการควบคุม และจัดสรรกำลังคนมาใช้ประโยชน์ ระบบดังกล่าวมีพัฒนาการไปตามสภาวะแวดล้อม และขยายบทบาทจากการควบคุม และเกณฑ์แรงงานคน มาเป็นระบบบริหารราชการที่ทำการปกครอง จัดเก็บผลประโยชน์ของอาณาจักร ตลอดจนกำหนดสถานะของคนในสังคม ระบบไพร่จึงกลายเป็นพื้นฐานของสังคมไทยมานานหลายร้อยปี วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงของระบบไพร่สมัยรัตนโกสินทร์นับแต่ตั้งกรุเทพฯ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2325 – 2453) และศึกษาผลของความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่มีต่อสังคมไทย โดยเฉพาะการปรับปรุงประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การศึกษาในเรื่องนี้จะพิจารณาถึงตัวระบบไพร่ที่ผู้ปกครองพยายามวางกรอบไว้ ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ลักษณะของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และผลกระทบต่อสังคมไทย นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงบทบาท หรือวิธีการที่ผู้ปกครองแก้ปัญหาเรื่องระบบไพร่ ตลอดจนปฏิกิริยาของไพร่ที่มีต่อระบบ ผลของการศึกษาพบว่า ระบบไพร่สมัยรัตนโกสินทร์ไม่สามารถแก้ปัญหาขาดแคลนกำลังคนให้ลุล่วงไปได้ ระบบดังกล่าวประสบปัญหาหลายประการ พระมหากษัตริย์ไม่มีพระราชอำนาจเด็ดขาดดังที่ปรากฏในกฎหมาย ทรงเป็นมูลนายระดับสูงสุดแต่เพียงทางทฤษฎี ในทางปฏิบัติแล้วอำนาจในการควบคุมกำลังคนตกอยู่กับมูลนายระดับรองลงมา คือ เจ้านาย ขุนนาง และข้าราชการ ผลประโยชน์จากไพร่จึงมักจะเป็นของมูลนายเหล่านี้มากกว่าจะเป็นของอาณาจักร นอกจากนี้กฎเกณฑ์ต่าง ๆที่เกี่ยวกับระบบไพร่ก็ถูกละเลย หรือละเมิด มีผลให้ระบบไพร่หละหลวม ไม่สามารถควบคุมกำลังคนได้จริงจัง การแก้ไขปัญหาโดยผ่อนคลายกฎเกณฑ์เพื่อชักชวนให้คนยอมเชื่อฟัง และปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งสร้างความสับสนมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาติดขัดในการปฏิบัติราชการทุกด้าน และมีส่วนผลักดันให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ด้วยการยกเลิกระบบไพร่ และนำระบบอื่นตามแบบตะวันตกมาใช้เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ แทนระบบไพร่ต่อไป
Subject | history oecd research oecd ไพร่ ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 5
|
วันที่พิมพ์ | 2524 |
ชื่อผู้แต่ง | อัญชลี สุสายัณห์ |
โรงพิมพ์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 |
more info