select DISTINCT i.id, i.* from items i where i.is_deleted = 0 and i.item_type = 'prints_sub' and i.parent_id = 5407 order by CONVERT (i.title USING tis620) asc limit 0,100
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งแสดงให้เห็นว่าความเปลี่ยนแปรของสำนึกทางประวัตศาสตร์มีพลังอย่างมากในการผลักดันให้คนในสังคมไทยกระทำการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือการเกิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และการเปลี่ยนระบอบการปกครอง พ.ศ. 2475 ทั้งนี้โดยการวิเคราะห์ที่คำนึงถึงพลวัตภายในสังคมไทย สังคมไทยในรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา มีความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองมาก ทำให้ชนชั้นนำมีความคิดทางเวลากับความคิดเกี่ยวกับรัฐและกษัตริย์แตกต่างจากเดิม นำไปสู่การเกิดสำนึกทางประวัติศาสตร์ที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้กำหนดวิถีของประวัติศาสตร์ไทยให้มีความต่อเนื่องและก้าวหน้า และพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพันธกิจที่จะต้องหาให้วิถีของประวัติศาสตร์ดำเนินไปสู่ ความก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป สำนึกนี้เป็นพลังทางภูมิปัญญาที่ผลักดันให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกระทำการรวมอำนาจเขาสู่ศูนย์กลาง เพื่อที่พระองค์จะทรงสามารถกำหนดวิถีของประวัติศาสตร์ไทยให้ดำเนินไปสู่ความก้าวหน้าได้อย่างแท้จริง ภายใต้เงื่อนไข สภาพแวดลอมที่มีความเปลี่ยนแปลงรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงได้ก่อตัวขึ้นในรัชกาลที่ 4 และมีพัฒนาการ เป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เต็มรูปในรัชกาลที่ 5 พลวัตภายในรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่สำคัญคือ การเมืองของราชวงศ์จักรีที่มีความขัดแย้งภายในระบบ ประกอบกับการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา ส่งผลให้ข้าราชการและราษฎร กลุ่มหนึ่งเกิดความสำนึกในศักยภาพของตนและสำนึกเชิงปัจเจกชน นำไปสู่การปฏิเสธหลักชาติวุฒิและการเกิดความสำนึกว่าสามัญชนมีบทบาทในการกำหนดวิถีของประวัติศาสตร์ไทย ให้ชาติอันเป็น "ผลรวมของหน่วยย่อย" ดำเนินไปสู่ความก้าวหน้า อย่างไรก็ตามเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม เกิดขึ้นในขอบเขตจำกัดทำให้ข้าราชการและราษฎรเหล่านี้มีสำนึกเชิงปัจเจกชนไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดความสำนึกในมหาบุรุษซึ่งไม่จำเป็นต้องมีชาติกำเนิดสูง สำนึกทางประวัติศาสตร์ที่สามัญชนเป็นผู้กำหนดวิถีของประวัติศาสตร์ภายใต้การนำของมหาบุรุษนี้เป็นหลังทางภูมิปัญญาที่ผลักดันให้ข้าราชการกลุ่มหนึ่งกระทำการเปลี่ยนระบอบการปกครองเพื่อที่ตนจะสามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำในการกำหนดวิถีของประวัติศาสตร์ไทยให้ดำเนินไปสู่ความก้าวหน้าได้อย่างแท้จริง
Subject | สำนึกทางประวัติศาสตร์ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ เวลา กษัตริย์และผู้ครองนคร รัฐ ราชวงศ์จักรี การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2325- thai history social change
|
วันที่พิมพ์ | 2531 |
ชื่อผู้แต่ง | อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ |
โรงพิมพ์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 |
more info