select DISTINCT i.id, i.* from items i where i.is_deleted = 0 and i.item_type = 'prints_sub' and i.parent_id = 5398 order by CONVERT (i.title USING tis620) asc limit 0,100
วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาการจัดการปกครอง “หัวเมืองภาคใต้ทั้ง 7” หรือ “หัวเมืองแขกทั้ง 7” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นระยะเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดระยะหนึ่ง ในประวัติศาสตร์การปกครองดินแดนส่วนนี้ของไทย โดยรัฐบาลได้นำระบบเทศาภิบาลมาใช้ โดยมีจุดประสงค์ที่จะรวมอำนาจการปกครองเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นผลให้การปกครองดินแดนส่วนนี้มีรูปแบบที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับส่วนอื่นของประเทศในที่สุด ในประการต้น การศึกษานี้มุ่งชี้ให้เห็นมูลเหตุที่มาของปัญหาต่าง ๆ อันเป็นปัจจัยผลักดันให้รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินการปฏิรูปการปกครองดินแดนนี้ ทั้งที่เป็นมูลเหตุอันเกิดจากสภาพการปกครองภายในที่มีมาแต่เดิม และแรงผลักดันอันเกิดจากภัยจักรวรรดินิยมภายนอก โดยศึกษาจากพัฒนาการทางความสัมพันธ์ที่ไทยมีกับดินแดนส่วนนี้ รวมทั้งที่สภาพการปกครองภายในดินแดนนั้นก่อนที่การปฏิรูปการปกครองจะเริ่มขึ้น ศึกษาถึงปัญหาทางการปกครองภายในดินแดนนี้ที่ค่อยๆ ปรากฏชัดเจนและรุนแรงขึ้นนับตั้งแต่ พ.ศ. 2425 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับเกิดปัญหากรณีพิพาทระหว่างไทยและอังกฤษ อันเนื่องด้วยปัญหาพรมแดนเปรัค-รามัน ชี้ให้เห็นทัศนะของทั้งสองฝ่ายที่มีต่อปัญหานั้น ตลอดจนผลสะท้อนของปัญหานั้นที่มีต่อการจัดการปกครองดินแดนส่วนนี้ของไทย การศึกษาขั้นต่อมา เน้นถึงกระบวนการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองเหล่านี้ที่ดำเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะแรก (พ.ศ. 2439 - 2444) ปฏิกิริยาต่อต้านจากเจ้าเมืองทั้งหลายที่ต้องสูญเสียอำนาจ ความสนใจและความพยายามของนักธุรกิจและข้ารัฐการอังกฤษประจำแหลมมลายูที่มุ่งจะผนวกดินแดนส่วนนี้ไว้ใต้การคุ้มครองของอังกฤษ ตลอดจนเหตุการณ์ปัตตานี ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2444 - 2445) วิเคราะห์ให้เห็นแนวโน้มของนโยบายอังกฤษต่อเหตุการณ์ดังกล่าว รวมทั้งแนวนโยบายของไทยในการแก้ไขปัญหาทั้งจากภายในและภายนอก ท้ายที่สุด มุ่งชี้ให้เห็นการดำเนินการดัดแปลงแบบแผนการปกครองแบบใหม่ให้สอดคล้องกับลักษณะความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของราษฎรส่วนใหญ่ในดินแดนนั้น (ระหว่าง พ.ศ. 2445 – 2449) อันเป็นผลให้รัฐบาลไทยบรรลุเป้าหมายระยะสั้นในการปฏิรูปการปกครองดินแดนส่วนนั้น โดยการประกาศตั้งมณฑลปัตตานีใน พ.ศ. 2449
Subject | politics ethnic groups
|
วันที่พิมพ์ | 2519 |
ชื่อผู้แต่ง | พรรณงาม เง่าธรรมสาร |
โรงพิมพ์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519 |
more info