select DISTINCT i.id, i.* from items i where i.is_deleted = 0 and i.item_type = 'prints_sub' and i.parent_id = 5382 order by CONVERT (i.title USING tis620) asc limit 0,100
ทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเยอรมนี ตั้งแต่ ค.ศ. 1862 – 1917 ซึ่งเป็นระยะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองได้เจริญถึงขีดสุดจะเห็นได้ว่าในปลายคริสตวรรษที่ 19 จักรวรรดินิยมตะวันตกได้แผ่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว ประเทศไทยต้องดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อความอยู่รอด ในการดำเนินนโยบายดังกล่าว รัฐบาลไทยเปิดโอกาสให้ชาติมหาอำนาจเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีและการค้าอย่างเท่าเทียมกัน ปรัสเซียซึ่งเป็นรัฐหนึ่งในสหภาพศุลกากร ได้เป็นผู้นำเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีใน ค.ศ. 1862 โดยลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรีพาณิชย์ และการเดินเรือกับรัฐบาลไทย หลัง ค.ศ. 1871 ปรัสเซียได้กลายเป็นประเทศเยอรมัน หรือจักรวรรดิเยอรมัน เพราะฉะนั้นสนธิสัญญา ค. ศ. 1862 จึงมีผลทุกประการต่อประเทศเยอรมัน ประการสำคัญที่สุด วิทยานิพนธ์นี้ต้องการชี้ให้เห็นว่าความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับเยอรมนีสามารถช่วยให้ไทยดำเนินนโยบายอยู่รอดได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาเรื่องดังกล่าว ผู้เขียนได้อาศัยหลักฐานขั้นต้นซึ่งเป็นเอกสารทางราชการของไทย อังกฤษ และรุสเซีย ซึ่งเก็บรักษาอยู่ตามสถาบันต่าง ๆ ในประเทศไทยและเอกสารขั้นรองซึ่งได้แก่วิทยานิพนธ์และบทความที่เกี่ยวข้อง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีทั้งหมด 6 บท บทที่ 1 ชี้ให้เห็นถึงสาเหตุที่รัฐบาลไทยลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรี พาณิชย์และการเดินเรือกับปรัสเซียใน ค. ศ. 1862 ยิ่งไปกว่านั้นยังชี้ให้เห็นว่า ปรัสเซียมีจุดประสงค์ทางด้านการค้าในขณะที่รัฐบาลไทยมีจุดประสงค์ทางการเมืองที่จะใช้ปรัสเซียคานฝรั่งเศส บทที่ 2 แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับจักรพรรดิวิลเลียมที่ 2 ซึ่งช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น บทที่ 3 ต้องการชี้ให้เห็นว่าเยอรมนีเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยส่วนใหญ่ทางด้านสาธารณูปโภค เช่น การรถไฟและการไปรษณีย์ เป็นต้น
นอกจากนี้ อิทธิพลทางด้านการค้าของเยอรมนีในประเทศไทยก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บทที่ 4 เป็นบทที่ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลด้านการเมืองของเยอรมนีในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายของรัฐบาลไทยที่ต้องการให้เยอรมนีเข้ามาประกันเอกราชและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทยร่วมกับนานาชาติ ตลอดจนความล้มเหลว ในนโยบายดังกล่าว บทที่ 5 เป็นบทที่เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ซึ่งนำไปสู่การเจรจาเพื่อแก้ไขสนธิสัญญา ค.ศ. 1862 บทที่ 6 เกี่ยวกับสาเหตุสำคัญ ๆ ที่ผลักดันให้รัฐบาลไทยประกาศสงครามต่อรัฐบาลเยอรมัน เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค. ศ. 1917 ซึ่งมีผลทำให้ความสัมพันธ์ทางการทูตสิ้นสุดลง ข้อที่ควรสนใจคือ จากผลการวิจัยในวิทยานิพนธ์นี้ ไม่ปรากฏว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเยอรมนีได้กระทบกระทั่งแต่อย่างใด อันที่จริงได้ดำเนินมาด้วยความราบรื่น จนถึงวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 ซึ่งเป็นวันที่ไทยได้ประกาศสงครามต่อเยอรมนี.
Subject | ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- เยอรมนี เยอรมนี -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ไทย
|
วันที่ประพันธ์ | 2519 |
วันที่พิมพ์ | 2519 |
ชื่อผู้แต่ง | ราตรี วานิชลักษ์ |
โรงพิมพ์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519 |
more info